วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การสร้าง 3D Model จากคำสั่ง Revolve และ Sweep


วันนี้เรามาเขียนแบบแก้วกาแฟแบบมีหูกัน ดีกว่า..

ตามแบบนี้เลยครับ 
(หมายเหตุ:  สามารถคลิกที่รูปใดๆ เพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้นได้)


เริ่มกันเลยครับ ....

(สำหรับมือใหม่ซิงๆ ให้ไปดูคลิป ตอนแรก ๆ หรือทุกตอนที่เกี่ยวข้อง โดยคลิกเข้าไปดูที่ "ในบทความที่เก่ากว่า" ก่อนนะครับ)

1. เปิดโปรแกรม AutoCAD 2010 หรือ Version ใหม่กว่า ก็ได้ครับ ตั้งค่า Limits เป็น A4  และ units เป็นระบบ เมตริก ให้เรียบร้อย

2. เขียนเส้นตรง ด้วยคำสั่ง line สองเส้น ยาวประมาณ 100 ทั้งสองเส้น 

3.  offset เส้นตั้งมาด้านขวา ระยะ ครึ่งหนึ่งของแก้ว คือ 37.5 และ offset กลับมาทางด้านซ้าย ตามความหนา คือ 4  ส่วนเส้นนอน offset ไปด้านบน ตามความสูงแก้ว คือ 95

 

4. ลาก Line จากจุดตัด ถึงจุดตัด ดังรูปข้างล่างนี้ (ใช้ snap intersection)

5. offset เส้นผิวเอียงของผิวแก้ว มาด้านซ้าย และ เส้นล่างขึ้นด้านบน ตามความหนาของแก้ว คือ 4
 

4. Trim และ ลบเส้นออก ให้ได้ ตามรูปนี้ จะได้ profile หน้าตัดแก้ว
 

5. ทำหูแก้ว
        5.1 ลากเส้นตรง line ที่ปลายเส้นบนสุด ตรงไปทางขวา ยาวพอประมาณ
        5.2 offset ลงมา ให้ได้อีก 2 เส้น ขนาด ตามแบบ และ offset เส้นผิวขอบแก้ว ไปไว้ตรงกลาง

        5.3  extend เส้นตรง สองเส้น ทางขวา ไปชนเส้นกลางความหนาแก้ว แล้ว trim ส่วนบนและล่าง เส้นกลางความหนาแก้วออก

       5.4 offset เล้นกลาง มาทางด้านขวา ระยะ ตามแบบคือ 32 แล้ว Fillet มุมบน และมุมล่างขวา    ของหูแก้ว รัศมี ตามแบบ คือ 15 และ 25 ตามลำดับ


       5.5 ลบเส้น กลางผนังแก้ว และเส้นบน และ joint เส้นหูแก้ว ให้เป็นเส้นเดียวกัน


     5.6   joint เส้นหน้าตัดความหนาผนังแก้ว เข้าด้วยกัน (ไม่รวมเส้นหูแก้ว) จะได้วัตถุ 2 วัตถุ คือเส้นหูแก้ว และเส้นหน้าตัดผนังแก้ว
     5.7 เขียนหน้าตัดของหูแก้วรูป 4 เหลี่ยม  ด้วยคำสั่ง Rectangle  ขนาด  4 x 20 ตามแบบ  โดยคลิกตำแหน่งประมาณในรูป แล้วป้อนค่าความยาวและกว้าง เป็น @4,20 แล้ว Fillet มุมทั้ง 4 รัศมี 2


   5.8 มองมุม 3 มิติ  ใช้คำสั่ง sweep เพื่อสร้างหูแก้ว  เลือกคลิกหน้าตัดหูแก้ว แล้วกด enter แล้วเลือก path ของหูแก้ว

 



6. สร้างตัวแก้ว จากคำสั่ง Revolve
    6.1 ไปที่คำสั่ง Revolve

    
    6.2 คลิกเลือก profile หน้าตัดความหนาแก้ว แล้ว enter


    6.3 คลิกเลือกสองจุด บนแกนที่จะให้ profile หมุนรอบ ใช้ snap endpoint ทั้งสองจุด



    6.4 ป้อนค่า องศาที่ต้องการหมุนรอบเป็น 360 องศา แล้ว enter 


    6.5 ลบมุมมน Fillet ที่ปากแก้วและก้นแก้วทั้ง 4 ขอบ  รัศมี 2  โดยไปที่คำสั่ง Fillet แล้วขอบใดขอบหนึ่ง ป้อนค่ารัศมี 2 แล้ว enter  แล้วคลิกเลือกอีก 3 ขอบ





7. ทำตัวอักษรนูนที่ผิวนอกตัวแก้ว
     7.1 มองมุม Top View แล้วไปที่คำสั่ง Text เขียนตัวอักษร ลงในตำแหน่งประมาณดังรูป ตัวอักษร เล็กใหญ่ พิมพ์ไปก่อน ค่อยเปลี่ยนขนาดภายหลัง




 

  7.2 เปลี่ยนขนาดตัวอักษร โดยคลิกที่ตัวอักษร แล้วเปลี่ยนความสูงของ Text ในหน้าต่างคุณสมบัติ ให้มีขนาดเล็ก ใหญ่ ตามต้องการ  แล้ว move ให้ได้ตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างซ้าย-ขวา เมื่อมองมุม 3 มิติ จะเห็นว่าตัวอักษรอยู่ที่ตำแหน่งกระดาษ UCS หรือกึ่งกลางแก้ว




  7.3 ระเบิดตัวอักษร ให้ เป็นตัวอักษรโปร่ง โดยไปที่ Express Tools แล้วเลือก Text Explode แล้วคลิกตัวอักษร ตัวอักษรจะโปร่ง ดังรูป

 7.4 ตอนนี้ถึงแม้อักษรจะโปร่ง แต่ทุกตัวอักษร ยังเป็นชิ้นเดียวกันอยู่ ให้ระเบิดตัวอักษรแยกจากกัน โดย ไปที่ Explode ใน Modify แล้วเลือกครอบเอาให้ได้ทุกตัว


 7.5 ถึงตอนนี้ ตัวอักษรแต่ละตัว แยกจากกันแล้ว แต่มีบางเส้นที่อยู่ด้านใน  ต้องลบออก โดยเลือกลบ แบบ crossing   เพราะมีสองเส้นทับกันอยู่   ถ้าเลือกแบบ click   จะต้องคลิกเส้นละสองครั้ง  ไล่ลบไปเรื่อยๆ ให้ครบทุกตัวอักษร



 7.6 press/pull ให้ตัวอักษรแต่ละตัว มีความสูง เหนือผิวแก้วขึ้นไปพอประมาณ เช่น ป้อนค่าความสูง 100


       press/pull ให้ครบทุกตัว

 7.7 ตอนนี้ตัวอักษร โผล่เข้าข้างใน และนอกแก้ว ต้องตัดออก  ด้านในตัดออกตามขอบผิวในแก้ว ด้านนอกให้โผล่นูนเหนือแก้ว ตามขนาดที่ต้องการ  โดยด้านในเราตัดตามผิวโค้งพอดี ด้านนอนตัดสูงกว่าผิวโค้ง ตามค่านูนของตัวอักษร ซึ่งต้องสร้าง surface มาที่ตำแหน่งดังกล่าว


  โดยไปที่ คำสั่ง Copy Surface  เลือกขอบผิวด้านในแก้ว แล้วบอกจุดอ้างอิงตำแหน่งการ copy โดยใช่ center ใด center หนึ่ง และบอกระยะที่ copy ไป (แต่เราต้องการผิวใหม่ที่เรา copy ไว้ที่ตำแหน่งเดิม ระยะจึงเป็น 0 นั่นคือ บอกระยะที่ center เดิม)


    เปลี่ยนสีให้แตกต่างจากผิวเดิม ผิวใหม่อยู่ทับผิวเก่าด้านในพอดี

   7.8 เราสมมุติว่า surface สีชมพูที่เราสร้างใหม่นี่้ คือ มีด ที่จะไปหั่นตัวอักษรให้ขาดจากกันเป็ 2 ด้าน  ไปที่คำสั่ง Slice แล้วเลือกตัวอักษรให้ได้ทุกตัว แล้ว enter แล้วบอกให้โปรแกรมรู้ว่ามีดหั่นคือ surface โดยพิมพ์ s แล้ว enter แล้วคลิกเลือก surface สีชมพู




      ที่ command line จะถามว่า หั่นแล้วจะเอาด้านไหนไว้ หรือจะเก็บไว้ทั้งคู่ ให้เก็บไว้ทั้งคู่ โดยการ กด enter ผ่านไปให้ครบทุกตัวอักษร


 จากนั้น ลบ ตัวอักษรส่วนที่อยู่ด้านในแก้วออกให้หมดทุกตัวอักษร และลบ surface สีชมพูทิ้ง


    ด้านในจะเห็นรอยตัดของตัวอักษรอยู่ เนื่องจากยังไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน

    หลักการเดียวกันนี้ เราก็จะตัดตัวอักษรด้านนอกแก้วได้  เพียงแต่ว่าผิวตัดต้องอยู่ เหนือผิวนอกออกไป เป็นระยะตามความนูนของตัวอักษร เริมจากการ copy face ผิวนอก วางไว้ที่ตำแหน่งผิวนอก ซึ่งวิธีทำคล้ายกับตอน copy face ผิวด้านใน


                        

  7.9 ขั้นตอนต่อไป เราจะต้องขยายผิวที่ได้ ให้ใหญ่รอบๆผิวนอก สูงออกมาเหนือผิวนอก ตามความนูนของตัวอักษร  ไปที่คำสั่ง scale แล้วเลือกคลิก ผิว surface สีชมพู บอกจุดอ้างอิงอยู่ที่ center ใด center หนึ่ง ขยายขึ้นซัก 2 %  นั่นคือพิมพ์ขนาดขยาย 1.02  แล้ว enter



 7.10 หั่นตัวอักษร ออกให้เป็นสองท่อน ทำเช่นเดียวกับที่หั่นด้านในแก้ว แล้วลบ ส่วนที่อยู่ด้านนอกผิวสีชมพูทิ้ง และลบผิวสีชมพูทิ้งด้วย  อย่าพึ่งรวมตัวอักษรเป็นเนื้อเดียวกันกับแก้ว ถ้าหากอยากให้สีตัวอักษรต่างจากสีของแก้ว ให้เปลี่ยนสีตัวอักษรและ แก้ว ให้สีต่างกันก่อน แล้วค่อย union รวมกันภายหลัง





8. fillet หูแก้วที่ต่อกับตัวแก้ว รัศมี 2 โดยใช้คำสั่ง fillet เลืกขอบของหูแก้วที่ต่อกับผิวนอกแก้ว คลิก 1 เส้น แล้วป้อนค่ารัศมี 2 enter แล้วคลิกขอบหูแก้วที่ต่อกับผิวแก้วให้ครบทุกเส้น แล้ว enter แล้วเปลี่ยนสีแก้ว จะได้แก้วเป็นสีเดียวกันทั้งหมด ยกเว้นตัวอักษร ลบเส้น path ที่ใช้ sweep หูแก้วออก





9. union เป็นเนื้อเดียวกับตัวอักษร แต่ไม่ต้องเปลี่ยนสีอีก (ถ้าเปลี่ยน อักษรจะเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับแก้ว) สังเกตุถ้า union แล้วจะไม่เห็นขอบตัวอักษรด้านในผิวแก้ว เนื่องจากรวมเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว


10. หมุนแก้วให้วางตั้งอยู่บนกระดาษ เพราะตอนนี้ แก้ววางนอนไปกับกระดาษ เปรียบเหมือนกระกาษเสียบอยู่ตรงกลางแก้วในลักษณะแก้วนอนอยู่
         
             ไปที่มุมมอง 3 มิติ แล้วไปที่ 3D Rotate คลิกเลือกแก้ว แล้วบอกจุดหมุนอยู่ที่ center ของก้นแก้ว


             เลือกแกนที่จะหมุนรอบ โดยเลือกคลิกที่วงหมุนสีแดง แล้วใส่ค่าองศาการหมุน 90 องศา แก้วจะพลิกตั้งขึ้น




สามารถ shade สี  หรือหมุนดู ความเรียบร้อย ได้ 360 องศา หรือจะเขียน กาแฟใส่ลงในแก้วให้ดู เหมือนจริงได้



สุดท้าย หวังว่าทุกคนคงสนุก กับการออกแบบแก้วกาแฟ สไตล์ของตัวเอง แล้วเขียนแบบจำลองลงใน AutoCAD แล้วส่งเข้ามาแบ่งกันดูนะครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 เมษายน 2565 เวลา 05:19

    ความรู้ ข่าวสาร ด้าน Ie - Industrial Engineering Knowledge: การสร้าง 3D Model จากคำสั่ง Revolve และ Sweep >>>>> Download Now

    >>>>> Download Full

    ความรู้ ข่าวสาร ด้าน Ie - Industrial Engineering Knowledge: การสร้าง 3D Model จากคำสั่ง Revolve และ Sweep >>>>> Download LINK

    >>>>> Download Now

    ความรู้ ข่าวสาร ด้าน Ie - Industrial Engineering Knowledge: การสร้าง 3D Model จากคำสั่ง Revolve และ Sweep >>>>> Download Full

    >>>>> Download LINK a4

    ตอบลบ